บ้านหลังคาปั้นหยา ใส่ช่องแสงใส สว่างตา

บ้านหลังคาปั้นหยา บ้านทรงปั้นหยาหรือ หลังคาทรงปั้นหยา เป็นแบบบ้านที่สามารถพบได้ ทุกภูมิภาคของประเทศไทย เนื่องจากเป็นแบบบ้านที่ปรับปรุงข้อเสียของหลังคาแบบหน้าจั่วจนมาเป็นหลังคา ที่มีด้านลาดเอียงทั้งหมด 4 ด้าน ทำให้สามารถป้องกันแดด และฝนได้ครอบคลุมครบทุกด้าน กว่าที่เคยเป็น ทำให้บ้านทรงปั้นหยา มีความมั่นคง แข็งแรง ทนพายุ และทนฝนมากขึ้น ทั้งยังเหมาะกับสภาพภูมิอากาศ ในประเทศไทยที่ฝนตกบ่อย

บ้านทรงปั้นหยา นั้นสามารถเข้าได้กับบ้านหลากสไตล์ ไม่ว่าจะเป็นร่วมสมัย โมเดิร์น หรือไทยประยุกต์ เพราะแบบบ้านทรงปั้นหยา นั้นเป็นแบบที่ถูกพัฒนาขึ้นแล้วทำให้รูปทรง ไม่ดูเก่าและล้าสมัย

ลักษณะของบ้านทรงปั้นหยา บ้านทรงปั้นหยานั้น แต่เดิมได้รับอิทธิพล มาจากตะวันตกตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ 5 ลักษณะเด่น ๆ คือจะมีหลังคา 4 ด้าน ส่วนทั้ง 4 ด้านนั้นจะลาดเอียงต่อกัน ทุกด้านเหมือนพีระมิด แต่บ้านทรงปั้นหยานี้ จะไม่มีหน้าจั่วซึ่งอาจจะทำให้ระบายความร้อนได้ช้า จึงต้องใช้พื้นชายคาระบาย ความร้อนแทน ถ้าจะให้ดีต้องใช้วัสดุระบายความร้อน หรือฉนวนกันความร้อนในการสร้างบ้านทรงปั้นหยา เพราะบ้านทรงนี้ มีจุดอ่อนเรื่องความร้อน

บ้านหลังคาปั้นหยา

บ้านหลังคาปั้นหยาใส่ Skylight

บ้านสร้างใหม่นี้ ตั้งอยู่ในย่านชานเมืองชั้นนำแห่งหนึ่ง ของโอ๊คแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ ใจกลางเขตมรดก ที่ยังดูกลมกลืนไป กับบ้านยุคเก่าที่อยู่รายล้อม เพราะดีไซน์ดึงเอาส่วนประกอบ ของรูปแบบอาคารเก่ามาประยุกต์ ลดทอนรายให้ทันสมัย และยังเล่นกับแนวคิด การใช้งานวัสดุ การใส่ที่ว่าง พร้อมกับดีไซน์ที่ซ่อนใบหน้า ของอาคารที่ต่างกัเอาไว้ มองจากด้านนอกจะเห็น หลังคาคล้ายปั้นหยาที่ถูกเฉือนออกไป เป็นรอยบากในบางจุด ส่วนด้านหลังกลับไม่เหมือนกัน แต่จะเป็นแบบไหนนั้น ก็ต้องตามไปดูกัน บ้านจัดสรร

บ้านหลังนี้เป็นชุด ของการค้นพบเชิงพื้นที่ ที่ทำให้บ้านสามารถ ใส่ลูกเล่นได้อย่างน่าสนุก สถาปนิกแจ็ค แมคคินนีย์กล่าว หากมองจากท้องถนน จะดูเหมือนบ้านชั้นเดียว ที่มีองค์ประกอบที่สมดุล และสมมาตร ออกแบบโดยเน้นการสร้าง ความสัมพันธ์ระหว่างถนน บ้าน และมุมมองที่อยู่ไกลออกไปสำหรับผู้สัญจรไปมา เมื่อรวมเข้ากับรั้วบ้านที่ เป็นรั้วต้นไม้ค่อนข้างหนาทึบ ทำให้ผู้คนมองเห็นหลังคา และตัวบ้าง แต่ไม่สามารถเข้าถึง พื้นที่ส่วนตัวภายในได้ทั้งหมด

แต่อันที่จริงแล้ว บ้านนี้มีสามชั้น ชั้นหนึ่งอยู่ระดับถนน ชั้นหนึ่งอยู่ด้านล่าง ต่างระดับลึกลงไป และอีกหลังซ่อนตัว อยู่ในหลังคา ถ้าเข้ามาภายในจากสวนด้านหลัง บ้านทุกระดับได้ชัดเจน เพราะทั้งหมดโชว์โครงสร้าง และเปิดโปร่งออกสู่พื้นที่กลางแจ้ง

ที่ทางเข้า มีตู้กระจกสำหรับเก็บเสื้อโค้ท รองเท้า ร่ม และอื่นๆ อีก 2 ตัว ตู้เป็นตัวช่วยให้สามารถแยก การจัดเก็บได้ในระดับที่เหมาะสม ทั้งเชิงพื้นที่และการมองเห็น นอกจากนี้กระจกเงาที่ติด หน้าบานยังสะท้อนมุมมอง ของลานภายในยามบ่ายกลับเข้าไป ในพื้นที่ใช้สอย ซึ่งสร้างความรู้สึกที่แตกต่างเมื่อมองออกไป ที่เขตแดนทางเหนือ ซึ่งเป็นวิธีการดึงวิว เข้ามาในบ้านโดยไม่กระทบต่อ ความเป็นส่วนตัวของบ้านที่มีเื่อนบ้านติด ๆ กัน

บ้านหลังคาปั้นหยา

พื้นที่ใช้สอยหลักมีห้องนั่งเล่น ห้องทานข้าว และครัวที่จัดแปลนแบบเปิด open plan

เป็นพื้นที่แนวนอนที่โดดเด่น และมีพื้นที่โถงสูง Double Space ติดสกายไลท์ ทำให้เกิดวอลลุ่มแนวตั้ง ที่ยกระดับขึ้น ซึ่งช่องแสง Skylight ติดกระจกใสนี้เป็นหนึ่งใน รอยบาก บนหลังคาที่มองเห็นได้จากถนนนั่นเอง ห้องที่อยู่ในระดับถนนจะมีผนัง เป็นกระจกทั้งหน้า และหลัง เพื่อใส่ความเชื่อมกับสวนด้านหน้า บ้านแฝด

ส่วนผสมของวัสดุหลัก ๆ จะใช้คอนกรีตหล่อ ในที่ให้เห็นร่องรอย Texture ของแม่แบบ งานไม้เข้ามาเพิ่มความละมุนอบอุ่น และสแตนเลสเคลือบโลหะมันวาว เพื่อให้อาคารมีหลากหลาย อารมณ์ทั้งดิบ เท่ อ่อนโยนเป็นธรรมชาติ และความสง่างามที่ค่อย ๆ มีมากขึ้นตามอายุ ส่วนหลังคาเป็นผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่าสเตนเลสเคลือบเทอร์น Terne- coated stainless steel (TCSS) สีเทาคล้ายเหล็กกล้า

ซึ่งลักษณะเหมือนเมทัลชีทแบบ Seamless ให้เส้นที่คมชัดทันสมัย และมีคุณสมบัติเป็นเกราะป้องกัน ที่ทนทานต่อการกัดกร่อนสูง เหมาะกับลักษณะเฉพาะใน สภาพแวดล้อมแถบนี้

เพื่อให้เข้ากับความรู้สึกดิบๆ เป็นธรรมชาติของโทนสีวัสดุ แสงประดิษฐ์จะถูกจำกัด และซ่อนไว้ที่ระดับพื้น หรือเพดานสูง ยกเว้นจุดที่อยู่เหนือไอส์แลน์ในห้องครัวสีดำ ที่จะช่วยสะท้อนให้พื้นผิว ดูมีชีวิตชีวาโดยเฉพาะในช่วงค่ำ ห้องครัวนี้ออกแบบ โดยนักออกแบบครัวที่ได้รับรางวัล Morgan Cronin ด้วยการผสมผสาน แบบทูโทนของลวดลายหินอ่อน และลายไม้ช่วยเพิ่มกลิ่นสัมผัส อันละเอียดอ่อน และความโก้หรู PHUKET VILLA

จากบ้านหลังนี้เห็นได้ชัดว่า ในฐานะสถาปนิก งานของทีมไม่ได้ แค่ออกแบบออกมา เป็นตัวบ้านแล้วจบ แต่ภายในยังมีรายละเอียด ของการเลือกวัสดุที่เหมาะกับสภาพอากาศ ภูมิประเทศ การออกแบบพื้นที่รับแสงรับลม การออกแบบสเปซ พื้นที่ไหนที่ใช้ชีวิต พื้นที่ไนควรปล่อยให้ว่าง รวมไปถึงเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อม ที่สร้างขึ้นและสภาพแวดล้อม ทางธรรมชาติ สร้างสิ่งอำนวยความสะดวก

ในขณะเดียวกันก็ สร้างปฏิสัมพันธ์กับทิวทัศน์ รวมไปถึงท้องถนน ด้วยในบางกรณี ซึ่งเจ้าของบ้านควรสอบถาม ถึงรายละเอียดเหล่านี้ หรือบอกความต้องการ กับสถาปนิกเพื่อให้บ้านตรงใจที่สุด

บันไดหรูๆ

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนสร้างบ้านทรงปั้นหยา

หากใครอยากให้บ้านในฝันออกมาตามแบบที่คิดไว้ ก็ควรค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ ทรงหลังคาปั้นหยาไว้สักหน่อย เพราะความชันของหลังคานั้น ขึ้นอยู่กับรายละเอียดของความสูงและเนื้อที่ของบ้านนั่นเอง ซึ่งในตรงนี้ จริง ๆ มีโปรแกรมคำนวณในอินเทอร์เน็ต ที่ต้องใส่ทั้งความยาว และความกว้างของบ้าน ความกว้างของจันทัน ความหนาของจันทัน

ระยะเสาด้านยาวของอาคาร ระยะเสาด้านกว้างของอาคาร ระยะยื่นชายคาจากเสา พื้นที่มุงหลังคา เสาดั้ง แต่สำหรับคนที่ไม่ได้ มีความเชี่ยวชาญเรื่องบ้านอย่างเรา ๆ แค่นี้ก็น่าเวียนหัวแล้ว จะคำนวณเองแล้วไปสร้างเลยคงเสี่ยงไม่น้อย Kaidee จึงขอแนะนำว่าควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ จะดีกว่าคำนวณเอง ไม่อย่างนั้นบ้านในฝันอาจจะมีจุดบกพร่องได้

ออกแบบสวยงามสว่างตา

ศัพท์ที่ควรรู้ก่อนสร้างบ้านทรงปั้นหยา

  • จันทัน จะเป็นส่วนที่พาดจากอะแส หรือบริเวณชายคาไปยังอกไก่ที่รองรับแป จันทันแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ จันทันหัวเสาและจันทันที่ ไม่ได้อยู่ตรงหัวเสา โดยที่จันทันนั้นจะวางถี่เป็นระยะ ๆ ทุก 1 เมตร อย่างไรก็ตามระยะการวางของจันทัน อาจแคบหรือกว้างกว่านี้ได้ โดยขึ้นอยู่กับความยาว ของแปและน้ำหนักของกระเบื้องมุง หลังคา นั่นเอง
  • อะเส จะเป็นคานที่อยู่ตรงชายคา โดยทำหน้าที่รับแรง และน้ำหนักจากโครงของหลังคา จำนวนของแผ่นอะเสจะขึ้น อยู่กับชนิดของหลังคา เช่น ถ้าเป็นบ้านทรงปั้นหยา จะมีอะเสทั้งหมด 4 ด้าน หากเป็นหลังคาอื่น ๆ จะมีอะเสน้อยลง ไม่ถึง 4 ด้าน เป็นต้น
  • อกไก่ ทำหน้าที่เสมือนสันของหลังคา ที่ทำหน้าที่รับน้ำหนักของจันทัน
  • ตะเฆ่ มีหน้าที่รองรับกระเบื้องมุงหลังคา โดยตะเฆ่นั้นมี 2 แบบ คือ ตะเฆ่สัน และตะเฆ่ราง ตะเฆ่สันจะอยู่ตรงส่วนสันของหลังคา ส่วนตะเฆ่รางจะเป็นส่วนที่ เป็นรอยต่อของหลังคาแต่ละด้าน และมักจะเป็นที่ที่น้ำฝนไหลผ่านอีกด้วย

บทความที่น่าสนใจ

บทความแนะนำ