บ้านกระท่อมเมทัลชีท ให้มีแสง มีสวน มีต้นไม้รายล้อม

บ้านกระท่อมเมทัลชีท เมทัลชีท (Metal Sheet) คือ แผ่นเหล็กรีดลอนโลหะผสมระหว่าง อลูมิเนียม และสังกะสี เหมาะสำหรับทั้งงานภายในและภายนอก งานผนัง งานรั้วและงานหลังคา คุณสมบัติเด่นชัดของเมทัลชีทคือสามารถสั่งผลิตตามขนาดความยาวของหลังคาได้ จึงทำให้เกิดรอยต่อของแผ่นหลังคาน้อย ปัญหารั่วซึมจึงน้อยกว่าหลังคากระเบื้องทั่วไป อีกทั้งยังช่วยให้การติดตั้งหลังคาสามารถดำเนินการได้ไว น้ำหนักเบา จึงช่วยลดต้นทุนค่าแรงก่อสร้างและค่าโครงสร้างบ้านได้เป็นอย่างดี

บ้านกระท่อม 30 ตร.ม.  ในโลกของงานสถาปัตยกรรม มีสิ่งน่าสนุกแปลกใหม่ ให้ทดลองมากมาย ไม่จำเป็นว่าบ้าน จะต้องวางติดกับ พื้นทุกส่วน ไม่จำเป็นว่าส่วน ประกอบของบ้าน ต้องมีหลังคา ผนัง ประตูหน้าต่าง ที่ได้ระนาบแนวตั้ง และแนวนอนเหมือนอย่าง ที่เราคุ้นเคยในบ้าน แบบพิมพ์นิยม บางครั้งหากเราลองจับบ้านมาวางใน ทิศทางที่ต่างไป ก็อาจจะเจอมุมมองใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์การใช้ ชีวิตได้อีกหลายรูปแบบ เหมือนเช่นบ้านหลังนี้ ที่ยกตัวขึ้นเฉียงเอียงได้ อย่างน่าหวาดเสียว ดูต้านแรงโน้มถ่วง ของโลกได้อย่างน่าตื่นตา

Mariano Ravenna ได้ทดลองคิดนอกกรอบ สร้างบ้านรูปแบบใหม่ ๆ ที่ดูท้าทาย ในโครงการบ้านที่ชื่อ Casa JG ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจากทะเลสาบ Chascomus อันงดงามของประเทศอาร์เจนตินา งานที่สถาปนิกได้รับคือ ต้องตีความต้นแบบของ กระท่อมใหม่ที่มีหลังคาลาดเอียง การใช้งานภายในไม่ปรับ เปลี่ยนรูปแบบมากเกินไป และยังต้องเชื่อมระหว่างภูมิทัศน์ ช่องว่าง และความสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกเข้าด้วยกัน ในขณะที่บ้านต้องอยู่บนหลัก ของความยั่งยืนด้วย

ลักษณะการวางตัวของ บ้านที่เหมือนกล่องสี่เหลี่ยม ผืนผ้าปักจมลงไปในดินส่วนหนึ่ง ที่เหลือโผล่ขึ้นมาแบบเอียงๆ ท้าทายแรงโน้มถ่วง ของโลก เมื่อจอดรถตรงที่ว่างใต้อาคาร ทำให้รู้สึกเหมือน ได้ลุ้นตลอดเวลา

บ้านกระท่อมเมทัลชีท

วัสดุภายนอกบ้านใช้ผนังเมทัลชีท

วัสดุภายนอกบ้านใช้ผนังเมทัลชีท ติดตั้งในแนวทแยงตาม การเอียงตัวของบ้าน แผ่นเมทัลชีทที่ใช้ในบ้านนี้ เป็นรุ่นที่ติดตั้งฉนวนกัน ความร้อนอยู่ข้างใต้ ซึ่งจะช่วยปกป้องบ้านจากความร้อนภายนอกที่ สูงเกินไปในบางช่วงของปี ความยาวของแผ่นวัสดุ ยังกำหนดได้หลายเมตร ทำให้ผนังมีรอยต่อน้อย สามารถใช้เป็นได้ ทั้งผนัง และหลังคาด้วยวัสดุเดียว

แม้บ้านจะมีพื้นที่เพียง 30 ตร.ม. แต่สามารถเปิดมุมมองสู่ ธรรมชาติโดยรอบ และขยายพื้นที่ใช้งานออกมาเชื่อมต่อ กับบริเวณกลางแจ้ง ผ่านบานประตูหน้าต่าง ที่เปิดยกเคลื่อนย้ายได้ เมื่อยกประตูขึ้นจะมี เหล็กค้ำยันให้กลายเป็น หลังคาที่ออกมานั่งใช้ชีวิตชิล ๆ พร้อมเปิดบ้านให้แสงสามารถ ทะลุผ่านภายในได้โดยไม่ มีสิ่งกีดขวาง ผู้เข้าพักจึงเพลิดเพลินกับ มุมมองที่กว้างขึ้น ของสภาพแวดล้อม บ้านแฝด

ด้วยวัสดุกรุผิวผนังภายนอก ที่เป็นสีโลหะ จะดูค่อนข้างปิดและ เย็นชืดในแวบแรกที่เห็น แต่เมื่อเข้าสู่ภายในกลับ สร้างความประทับใจที่แตก ต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากภายในตกแต่งผนัง และเพดานด้วยงานไม้ที่โดดเด่น เติมความรู้สึกอบอุ่นแบบ “บ้าน” ให้อบอวลทั่วทั้งหลัง

บ้านกระท่อมเมทัลชีท

ฟังก์ชันใช้งานภายในมีครบถ้วนสำหรับการใช้ชีวิต

อย่างที่เจ้าของโปรเจ็ค ต้องการให้ภายใน ไม่ดูแปลกไปจากบ้านอื่นๆ มากนัก เพื่อให้ใช้งานได้ง่าย จึงทำบ้านให้มีลักษณะ เป็นโถงสูง ด้านล่างจัดเป็นครัว โต๊ะทานอาหารขนาดกะทัดรัด ด้านข้างมีบันไดไม้ ไต่ขึ้นไปที่ชั้นลอยที่เป็น ห้องนอนใต้หลังคา และด้วยความเอียงทำให้ พื้นที่ที่สูงขึ้นไปเหนือโถง ห้องทานข้าวมีทั้ง ส่วนที่แคบและส่วนที่กว้างไม่เท่ากัน จึงออกแบบเป็นลักษณะ ขั้นบันได ให้นั่งเล่นนอนเล่นดูทีวีได้โดยที่ไม่กินพื้นที่บ้าน สามารถมองเห็นเชื่อมต่อกันได้หมด บ้านจึงมอบทุกสิ่งที่คุณต้องการเพื่อการพักอย่างรื่นรมย์ในธรรมชาติ

ถ้าถามถึงเรื่อง เกี่ยวกับความยั่งยืน วัสดุเมทัลชีทที่กรุฉนวน เป็นเหมือนเสื้อคลุมที่ปกป้องบ้านจากความร้อน และในขณะเดียวกันก็เป็นวัสดุที่ดูแลรักษาง่าย จึงมีส่วนทำให้เกิดความยั่งยืนถึง 2 เท่า นอกเหนือจากการ เป็นวัสดุที่ต้องการการบำรุงรักษาต่ำ ในส่วนผนังและหลังคาที่เฉียงเอียงเป็นทางลาด

ตกอต่งบ้านด้วยไม้

ช่วยให้น้ำระบายจากหลังคามารองเก็บน้ำไว้ในถังปิดเพื่อใช้รดน้ำสวน/สวนผักของเจ้าของ น้ำสำหรับใช้ภายในได้จากจากบ่อน้ำ ท่อระบายน้ำทิ้งจะได้รับการแก้ไขด้วยไบโอไดเจสเตอร์ Bio-Digester หรือเครื่องแปลงขยะชีวมวลเป็นสารชีวภาพปรับปรุงดินได้ภายใน 24 ชั่วโมง และทำความร้อนภายในด้วยเตาผิง เป็นต้น

หลังคาเมทัลชีท เป็นแผ่นเหล็กรีดลอน สามารถผลิตให้มีความกว้างยาวได้มากกว่าวัสดุอื่นๆ จึงลดปัญหาจุดรั่วซึมตามรอยต่อไปได้อย่างมาก หลังคาเมทัลชีทสามารถออกแบบให้ยื่นยาวได้นอกจากนี้ยังมีสีสันและรูปแบบหลากหลายให้เลือก หลังคาเมทัลชีทจะมีความคงทน สวยงามตลอดอายุการใช้งาน ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา

การใช้เมทัลชีทสามารถออกแบบรูปทรงหลังคาในองศาที่ต่ำแบบที่หลังคากระเบื้องไม่สามารถรองรับองศาต่ำได้ รุ่นใหม่ๆ ยังออกแบบมาให้ใช้งานได้ทั้งผนังและหลังคาด้วย แต่ข้อเสียก็มี เช่นหากไม่ใช่รุ่นที่มีฉนวนกันร้อน หรือโฟมบุหลังคา จะมีเสียงดังเมื่อฝนตกและร้อน อาจมีรอยรั่วซึมได้หากยิงเจาะยึดพลาด ก่อนตัดสนิใจใช้จึงควรชั่งน้ำหนักข้อดีข้อเสียก่อน

ออกแบบบ้านอบอุ่น

ข้อดีของแผ่นเมทัลชีท

1.การนำมาใช้ทำหลังคามีข้อดีคือลดปัญหาการรั่วซึมเพราะแผ่นเมทัลชีทสามารถสั่งตัดให้ขนาดยาวต่อเนื่องได้ตลอดทั้งผืนจึงหมดปัญหาน้ำฝนไหลเข้ารอยต่อของแผ่นหลังคา

2.ติดตั้งได้ง่ายเพราะแผ่นเมทัลชีทมีน้ำหนักเบาและช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำโคร่งคร่าวได้อีกด้วย และยังสามารถติดตั้งทับบนหลังคาเก่าได้โดยไม่ต้องรื้อหลังคาบ้านใหม่

3.สามารถปูหลังคาทรงโมเดิร์นหรือทรงหมาแหงนที่ต้องการความลาดชันต่ำได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องปัญหาหลังคารั่วซึม บ้านเดี่ยว

4.สามารออกแบบรูปทรงได้หลากหลายทั้งหลังคาทรงจั่ว หลังคาทรงหมาแหงน หลังคาทรงโมเดิร์น รวมไปถึงหลังคาทรงโค้งเป็นโดมก็สามารถทำได้เช่นกัน

5.การติดตั้งหลังคาเมทัลชีทนั้นนอกจากจะปลอดภัยจากปัญหารั่วซึมในเรื่องของรอยต่อของแผ่นแล้วในการติดตั้งหากติดตั้งด้วยระบบคลิปล็อคที่ไม่ต้องเจาะสกรูในการยึดติดแบบเก่าจะช่วยให้แผ่นไร้รอยเจาะและไร้ปัญหารั่วซึมแน่นอนค่ะ

6.ลดความเสียหายของวัสดุขณะขนย้ายหรือติดตั้งเพราะตัวแผ่นทำจากเหล็กเคลือบอลูซิงค์จึงทนทานไม่แตกหักง่ายเหมือนกระเบื้องทั่วไป

7.สามารถนำใช้ประโยขน์ได้หลากหลายทั้งรั้ว ผนังและหลังคา มีความทนทานไม่เปราะหักง่าย

ข้อเสียของแผ่นเมทัลชีท

1.มีเสียงดังขณะฝนตก แน่นอนว่าการปูหลังคาด้วย แผ่นเหล็กเมทัลชีทที่มีขนาดไม่หนามาก เมื่อฝนตกก็จะเกิดเสียงดัง แต่ก็มีวิธีแก้ปัญหาได้หลากหลาย ตามความเหมาะสม เช่น การฉีดโฟมสเปรย์ หรือการปูแผ่นกันความร้อนวิธีนี้ นอกจากช่วยป้องกันความร้อนเข้า สู่ตัวบ้านแล้วยังช่วยเก็บเสียงได้อีกด้วย การติดตั้งฝาเพดานโดยการติดตั้งควรเลือกฝาเพดานแบบฉาบเรียบ ให้ตัวฝาไม่มีรอยต่อเพื่อลดการ เล็ดลอดของเสียงจากหลังคา

การติดตั้งวัสดุป้องกัน เสียงวิธีนี้ได้ผลแน่นอน กับเสียงที่มาจากหลังคา แต่จำเป็นต้องลงทุนมากว่าวิธีอื่นๆ เพราะด้วยวัสดุเก็บเสียง มีราคาอยู่พอสมควร ซึ่งอาจเลือกใช้ปูเฉพาะห้องที่ต้องการ ความเงียบอย่างห้องนอน หรือห้องที่ต้องการเก็บเสียงก็ได้

2.ตัวหลังคารับความร้อน ได้ดีกว่ากระเบื้องเพราะตัวเมทัลชีท ทำมากจากเหล็กจึงรับเอาความร้อนจาก แสงอาทิตย์ได้มากกว่ากระเบื้อง โดยวิธีแก้ไขคือติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อนและฉนวนกันความร้อนเพื่อ ป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้าน หรือติดตั้งหลังคา ให้มัลักษณะเป็นโดมสูงเพื่อให้มีพื้นที่ ระบายความร้อน ออกจากหลังคานั้นเอง

3.การขนย้ายแผ่นเมทัลชีท ในการผลิตนั้นสามารถรีดแผ่นออก มาได้ยาวตามที่ต้องการ แต่ในการขนย้ายนั้นก็จำเป็น จะต้องใช้รถที่สามารถขนสินค้า ที่มีความยาวเหล่านั้นด้วยนั้นเอง

4.เนื่องจากแผ่นเมทัลชีท มีน้ำหนักเบาทำให้ เมื่อเกิดพายุลมฝนอาจทำให้หลังคา หลุดเสียหายได้ง่ายกว่าหลังคา กระเบื้องที่มีน้ำหนักมากกว่า และเรียงต่อหลายๆแผ่น

บ้านกระท่อม

เรื่องที่เจ้าของบ้านควรรู้ก่อนซื้อเมทัลชีท

1.ความหนาของเมทัลชีทกับการใช้งาน
เมทัลชีทเป็นหนึ่งในวัสดุก่อสร้างที่มีความหนาให้เลือกหลากหลาย เนื่องจากความหนาแต่ละระดับจะเหมาะกับลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันไป ยิ่งไปกว่านั้นความหนาของเมทัลชีทที่เพิ่มขึ้นยังหมายถึงความแข็งแรงและการป้องกันเสียงที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทว่ามีสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ความหนาของเมทัลชีทมีผลต่อการออกแบบ การรับน้ำหนักของโครงสร้าง และความแข็งแรงของอาคารโดยตรง หากเลือกเมทัลชีทที่มีความหนาที่เหมาะสมกับการใช้งานและโครงสร้างของบ้าน ก็จะช่วยให้การก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ แข็งแรง และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น การซ่อมบำรุงเพราะเลือกความหนาผิดประเภทลงไปได้มากทีเดียว

โดยตัวอย่างความหนาของเมทัลชีทที่เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน มีดังนี้:

  • ความหนาเมทัลชีท 0.23-0.28 มิลลิเมตร: เหมาะกับงานหลังคาขนาดเล็ก เช่น ที่พักอาศัยชั่วคราว
  • ความหนาเมทัลชีท 0.30-0.35 มิลลิเมตร: เหมาะกับงานหลังคาและผนังขนาดเล็กที่มีระยะแปไม่เกิน 1.2 เมตร เช่น บ้านพักอาศัย ส่วนต่อเติม โรงจอดรถ และกันสาด
  • ความหนาเมทัลชีท 0.35-0.40 มิลลิเมตร: เหมาะกับงานหลังคาขนาดกลางและงานผนังทั่วไป เช่น โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กหรือโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลาง
  • ความหนาเมทัลชีท 0.40-0.47 มิลลิเมตร: เหมาะกับงานหลังคาขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เช่น โรงงานหรืออาคารขนาดกลางที่ต้องการการก่อสร้างคุณภาพสูง
  • ความหนาเมทัลชีท 0.47 มิลลิเมตรขึ้นไป: เหมาะกับงานหลังคาขนาดใหญ่ เช่น โรงงานหรืออาคารขนาดใหญ่
  • มาถึงตอนนี้ทุกคนคงสังเกตเห็นแล้วว่า ยิ่งสิ่งก่อสร้างมีขนาดใหญ่มากขึ้นเท่าไร ความหนาของเมทัลชีทก็ควรต้องเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ทว่านอกเหนือจากขนาดของสิ่งก่อสร้างแล้ว อย่าลืมพิจารณารูปลอนและระยะแปควบคู่กันไปด้วยนะ

2.การเลือกสีหลังคาให้เหมาะกับสไตล์ของบ้าน
นอกจากความหนาแล้ว เมทัลชีทยังมีพื้นผิวให้เลือกมากมาย เช่น พื้นผิวสะท้อนความร้อน พื้นผิวลายธรรมชาติ และพื้นผิวประกายมุก ตามมาด้วยหลังคาเมทัลชีทสีสันที่หลากหลาย ทั้งแบบพื้นฐานและแบบพิเศษ จนทำให้หลายคนเกิดความสับสนและตัดสินใจไม่ถูก ถ้าอย่างนั้นเราลองมาเช็กตัวอย่างการมิกซ์ แอนด์ แมตช์ สีหลังคาให้เข้ากับสีตัว บ้าน หรือสไตล์ของบ้านแบบคร่าว ๆ กันไว้ก่อน

  • โมเดิร์น (Modern): เป็นสไตล์ที่สมาร์ตและทันสมัย โครงสร้างบ้านเป็นทรงสี่เหลี่ยม ตกแต่งเรียบง่าย เน้นหน้าต่างบานใหญ่ไว้เปิดรับแสงจากธรรมชาติ จึงเหมาะกับสีกลาง ๆ หรือสีโทนเย็น ไม่ฉูดฉาด เช่น หลังคาสีนูโว บลู จากบลูสโคป แซคส์ (BlueScope Zacs)
  • ทรอปิคอล (Tropical):เป็นสไตล์ที่อบอุ่น มีความเป็นธรรมชาติ ตัวบ้านมักสร้างจากไม้หรือเหล็กผสมไม้ จึงเหมาะกับสีเอิร์ธโทน เช่น หลังคาสีเนเชอรัล บราวน์ จากบลูสโคป แซคส์ (BlueScope Zacs)  phuket property
  • มินิมอล (Minimal): เป็นสไตล์ที่เรียบง่าย สะอาด มีคอนเซ็ปต์น้อยแต่มาก ตัวบ้านมักเน้นโทนสีสว่าง จึงเหมาะกับสีขาว เช่น หลังคาสีเอเชียน ไวท์ จากบลูสโคป แซคส์ (BlueScope Zacs)
  • อินดัสเทรีล (Industrial): เป็นสไตล์ที่ดิบ เก๋ เท่ ชิค ตัวบ้านมักตกแต่งด้วยโครงเหล็ก ปูนเปลือย หรือผนังสีเข้ม เหมาะกับหลังคาที่มีสีสันสดใสตัดกัน เช่น หลังคาสีเอ็มจี เยลโล่ จากบลูสโคป แซคส์ (BlueScope Zacs)

บทความแนะนำ